รู้จัก Foxconn บริษัทที่จับมือกับ ปตท. ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า /โดย ลงทุนแมน
เดือนที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ในวงการยานยนต์ไฟฟ้าในไทย
เมื่อ ปตท. ได้ประกาศร่วมลงทุนกับบริษัท Hon Hai Precision Industry Co., Ltd.
หรือที่เรารู้จักกันในนาม Foxconn Technology Group
ในการร่วมมือกันครั้งนี้ เป็นการช่วยกันผลักดันแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า MIH
ที่คาดว่าจะมาเป็นอนาคตของการสร้างยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งในไทยและทั่วโลก
แล้วแพลตฟอร์ม MIH ที่ว่านี้ คืออะไร และน่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Foxconn มีชื่อเสียงในฐานะ ผู้นำการผลิต
และประกอบชิ้นส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก
ที่มีลูกค้ารายสำคัญ เช่น Apple, PlayStation, Nintendo, Huawei และ Xiaomi
เมื่อหลายคนได้ยินว่า Foxconn จะรุกตลาดยานยนต์ไฟฟ้า
หลายคนคงเริ่มตั้งคำถาม ว่าจากบริษัทรับประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างไร
นี่คือสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนทั่วทุกมุมโลก ตั้งคำถามกับ Young Liu ผู้ที่เป็นซีอีโอ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Foxconn Group
ซึ่ง Young Liu ตอบคำถามนี้ด้วยการเปิดตัว
แพลตฟอร์มสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า “MIH”
ในเดือนตุลาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา
โดยเขาแถลงวิสัยทัศน์ในวันเปิดตัว MIH ว่า
“การดำเนินกิจการรับจ้างผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มากว่า 40 ปีของบริษัทนั้น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ แม้ว่าศักยภาพในการรับจ้างผลิตจะมีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา แต่เราเริ่มสร้างการเติบโตได้ยากขึ้นทุกที”
ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน จะต้องผลิตในปริมาณมาก และลดต้นทุนในการผลิตลงให้ได้มากด้วย ถึงจะสามารถทำกำไรได้ในระดับที่น่าพอใจ
ยกตัวอย่างเมื่อ 20 ปีที่แล้ว Foxconn รับจ้างผลิตโน้ตบุ๊กให้แบรนด์ Compaq และ Dell ซึ่งในช่วงแรกบริษัทก็ทำกำไรจากการรับจ้างผลิตได้ดี
แต่เมื่อตลาดของสินค้าเหล่านั้น เริ่มมีคู่แข่งเข้ามามาก
และเกิดการแข่งขันกันในเรื่องราคา จนแบรนด์ต้องมาต่อรองกับ Foxconn เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ก็ทำให้อัตรากำไรของ Foxconn ค่อย ๆ ลดลง
Foxconn จึงเริ่มมองหาอะไรใหม่ ๆ มาต่อยอดธุรกิจเดิม
และก็ได้มองเห็นว่า ผู้ครอบครองระบบปฏิบัติการ iOS อย่าง Apple
และระบบ Android อย่าง Google มีโมเดลที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะระบบ Android ที่เป็นระบบแบบเปิดทำให้มือถือหลากหลายยี่ห้อสามารถเข้าถึงและนำไปพัฒนาได้ง่าย
และนี่ก็คือแนวคิด ที่ Foxconn กำลังนำมาพัฒนาเป็น MIH ที่จะทำหน้าที่เป็น
“แพลตฟอร์มที่รวบรวมผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และซอฟต์แวร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก”
สำหรับให้ผู้พัฒนา เข้ามาใช้เป็นศูนย์กลางในการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าของตัวเอง
โดยที่มาของคำว่า MIH มาจากคำว่า “Made in Hon Hai”
หมายถึงผลิตจากบริษัทหงไห่ หรืออีกชื่อเรียกของ Foxconn
ที่ปัจจุบันมีบริษัทในเครืออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในไต้หวัน ฮ่องกง จีน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
และมีโรงงานตั้งอยู่ใน 11 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา
ตอนนี้ แพลตฟอร์ม MIH มีบริษัทประกาศเข้าร่วมแล้วกว่า 1,700 แห่ง
เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 67% และเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือสื่อสารและอุตสาหกรรม Internet Software 25%
แพลตฟอร์ม MIH ยังได้สองผู้บริหารคนสำคัญ
คนแรกคือ Jack Cheng ในตำแหน่ง CEO ของแพลตฟอร์ม MIH ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ กว่า 40 ปี เคยทำงานให้กับ Ford, Fiat
และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมปลุกปั้น NIO บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของจีน
ผู้บริหารคนที่สอง คือ William Wai
ที่ดูแลรับผิดชอบในส่วนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของแพลตฟอร์ม MIH
William Wai มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ มากว่า 20 ปี
เขาเคยร่วมงานกับสตีฟ จอบส์ ที่บริษัท NeXT, Inc.
และเคยเป็นหนึ่งในทีมงานที่ร่วมพัฒนาระบบปฏิบัติการ iOS และ macOS
นอกจากผู้บริหารที่มีศักยภาพแล้ว
บริษัทที่เข้าร่วมแพลตฟอร์ม MIH ก็มีหลายบริษัทที่น่าสนใจ
เช่น
- Innolux บริษัทผู้ผลิตจอแสดงผลรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น Model X และ S ของ Tesla
- Foxconn Tech ในเครือ Foxconn Technology Group ที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยอาศัยเทคโนโลยีการหล่อฉีดอะลูมิเนียมอัลลอย ที่ทำให้ตัวรถยนต์แข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา ซึ่งปัจจุบันได้รับคำสั่งซื้อจาก BMW ในการผลิตตัวถังรถยนต์ไฟฟ้า
อีกสิ่งที่เป็นเหมือน “หัวใจ” ของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ “แบตเตอรี่”
ซึ่งในรายชื่อบริษัทพันธมิตรของแพลตฟอร์ม MIH
มีชื่อของ “CATL” หนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้ Tesla และครองส่วนแบ่งในตลาดกว่า 24% ของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
นอกจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนหลักในตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์มนี้แล้ว
ก็ยังมีบริษัทในอุตสาหกรรมผลิตชิป อย่าง TSMC, MediaTek, ARM หรือบริษัทที่กำลังพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติอย่าง AWS (Amazon Web Services) และ Tier IV จากญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย
แพลตฟอร์ม MIH ตั้งเป้าหมายแรก คือต้องการมีสัดส่วน 10% ในตลาดของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ภายในปี 2025 และภายในสิ้นปี 2021 มีแผนจะผลิตรถบัสไฟฟ้าออกสู่ตลาด
ย้อนกลับมาที่การจับมือกันระหว่าง Foxconn Technology Group และ ปตท.
เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม MIH ในครั้งนี้
ก็คงเหมือนเป็นการเปิดประตูสู่การส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยให้กว้างขึ้น
จากนี้ก็ต้องติดตามต่อไปว่า อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ของไทย
จะสามารถปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://udn.com/news/story/7240/5343496
-https://iknow.stpi.narl.org.tw/Post/Read.aspx?PostID=17615
-https://baike.baidu.com/item/%E9%83%91%E6%98%BE%E8%81%AA/20386059
-https://baike.baidu.com/item/%E9%AD%8F%E5%9B%BD%E7%AB%A0
-https://ctee.com.tw/news/tech/417144.html
-https://www.bnext.com.tw/article/60624/foxconn-mih-logo-wall-mtk-mooly
aws logo 在 寫點科普 Facebook 的最佳解答
【來追蹤我的Clubhouse每週閒聊吧】
Hello大家好~ 好久沒跟讀者朋友們聊天了!這兩天註冊了 Clubhouse 覺得很好玩,想跟大家在上面也開個房間交流🥰 決定把它拿來當作寫點科普的Podcast版本來經營
歡迎大家到 Clubhouse 上面追蹤我:@kopuchat
---
目前想到的一個玩法是:我每週都會在上面訂定一個主題來開房間,一樣為大家針對這個主題做科普(但順便閒聊)
接著在選定主題後,我會事先把幾篇選文,比如新聞、專有名詞Wiki或影片發布在我的 FB 粉專上面,如果有時間的話推薦大家事先看看這些資訊有些背景概念加速討論(但如果來不及看也沒關係,我也會說明)
開始後,我會在裡面大概花 20 分鐘左右的時間跟聽眾們解釋這個概念,接著簡單的交流討論,全程大概 40 分鐘左右,也看到時候交流的情況,畢竟是試辦😂
結束後,我也會把這次介紹的Key Takeways整理成2~3點bullet points粉專上面。
----
👉本週主題:如何評估SaaS公司的收入結構?不能不懂的SaaS三大收入支柱與專有名詞
👉主題說明:究竟什麼是SaaS模式?想了解美股熱門公司,包括Salesforce/AWS/Cloudflare/Unity等SaaS企業在評估收入健康度上面該怎麼去理解嗎?常常看到的ACV/TCV/ARR又是什麼意思?為什麼未上市的新創公司對外媒體發布營收狀況都愛用ARR當指標?
👉時間:2/6週六晚上十點
👉下面是針對本次主題的選文,歡迎大家事先參考看看:
1. SaaS Growth = New Business + Upsell + Renewal
https://reurl.cc/1gmGjp
2. 3 new $100M ARR club members https://reurl.cc/E2RoqA
3. ARR vs ACV vs TCV https://reurl.cc/NXRya5
---
因為近期職位上有變動,太忙的關係所以一直有很多新的想法但長篇文章一直寫的斷斷續續,但又很想持續做科普這件事情,所以想到Clubhouse或許可以這樣來玩玩看,有什麼建議也歡迎跟我說噢🥳
aws logo 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最佳解答
Amazon has been banned from using the logo of its cloud-computing business AWS in China, and must pay 76.46 million yuan (US$11.8 million) to a Chinese company in compensation, a Beijing court ruled recently.
Read more: https://bit.ly/3q0ydjg
美國電商巨擘亞馬遜(Amazon)早前被2003年才成立的北京科技公司「炎黃盈動」指控商標侵權。內地媒體報道,北京市高級人民法院於去年12月30日判處亞馬遜敗訴,不得再使用AWS商標,並需向「炎黃盈動」公司賠償7,646萬元人民幣 (下同,9,178.7萬港元)
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
aws logo 在 Amazon Web Services YouTube Channel 的推薦與評價
Amazon Web Services (AWS) is the world's most comprehensive and broadly adopted cloud platform, offering over 200 services such as compute, databases, ... ... <看更多>